วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

วุลเวอรีน

วุลเวอรีน (อังกฤษ: wolverine; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gulo gulo) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ในสกุล Gulo (หมายถึง "จอมตะกละ") สัตว์ชนิดนี้มีอยู่ 2 ชนิดย่อย วุลเวอรีนที่อาศัยอยู่ในโลกเก่า (เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gulo gulo gulo แต่ชนิดย่อยในโลกใหม่ (ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้) ใช้ชื่อ G.g. luscus และยังมีชนิดพิเศษที่พบเฉพาะบนเกาะแวนคูเวอร์ของประเทศแคนาดาเท่านั้น คือชนิดย่อยแวนคูเวอร์ (G.g. vancouverensis) แต่มักถูกจัดให้รวมอยู่ในชนิดย่อยของโลกใหม่นอกจากนี้ยังมีชื่อสามัญใช้เรียกอีก 2 ชื่อ ได้แก่ หมีกลัตตัน (glutton) และ คาร์คาจู (carcajou)
วุลเวอรีนพบในเขตหนาวของซีกโลกเหนือ ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือและเอเชีย
วุลเวอรีนเป็นสัตว์ที่มีร่างกายสันทัดและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีขนสีน้ำตาลปกคลุมร่างกาย และมีแถบสีเหลืองเข้มขนานความยาวร่างกาย ชั้นขนหนาแต่ไม่อุ้มน้ำ ทำให้ตัวมันทนทานต่ออากาศหนาวได้เป็นอย่างดี มีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในเขตหนาว ขนที่ทนต่อความหนาวนี้จึงเป็นที่นิยมของนักล่าเขตหนาวโดยการนำมาทำเครื่องนุ่งห่ม

วุลเวอรีนที่โตเต็มวัยจะมีขนาดเท่าสุนัขขนาดกลาง ดูเหมือนหมีขนาดเล็กที่มีหางยาว ลำตัวยาวตั้งแต่ 65-87 เซนติเมตร (23-34 นิ้ว) หางยาว 17-26 เซนติเมตร และหนัก 10-25 กิโลกรัม (22-55 ปอนด์) วุลเวอรีนเพศผู้สามารถหนักได้ถึง 31 กิโลกรัม (70 ปอนด์) เพศผู้กว่าร้อยละ 30 ตัวใหญ่กว่าเพศเมีย

นอกจากพละกำลังที่น่ายำเกรงของมัน สัตว์ชนิดนี้ยังสามารถปล่อยกลิ่นที่เหม็นมาก ทำให้มันมีชื่อเล่นว่า "หมีนักตด" หรือ "แมวเหม็น" อีกด้วย

วุลเวอรีนและสัตว์ในวงศ์วีเซิลชนิดอื่น ๆ ต่างก็มีฟันกรามบนชนิดพิเศษในปากด้านในที่ทำมุมตั้งฉาก 90 องศา ลักษณะพิเศษนี้ทำให้วุลเวอรีนสามารถฉีกเนื้อของเหยื่อหรือซากสัตว์เย็น ๆ ได้โดยง่าย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วูฟเวอรีน สัตว์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วูฟเวอรีน สัตว์

กุ้งมังกร



ลักษณะและวงจรชีวิตกุ้งมังกร

มีลักษณะต่างจากกุ้งทั่วไป คือ เป็นกุ้งที่มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะส่วนหัวที่มีขนาดใหญ่ และมีลวดลายและสีสันสวยงาม มีลำตัวรูปทรงกระบอก หนวดคู่ที่ 2 ยาวกว่าความยาวของลำตัวมาก โคนหนวดคู่ที่สองไม่อยู่ติดกัน บนแผ่นกลางหนวดมีหนามขนาดใหญ่อยู่ปลายสุด 1 คู่ อยู่ตรงแนวกลางของโคนหนวดคู่ที่ 1 โคนละ 1 หนาม ใช้สำหรับป้องกันดวงตา ไม่มีก้ามเหมือนกุ้งจำพวกอื่น ปล้องท้องเรียบไม่มีร่องขวางกลางปล้อง ขอบท้ายของปล้องท้องมีลายสีครีมขวางทุกปล้อง หางลักษณะแผ่เป็นหางพัด พบทั่วไปตามหาดโคลนบนพื้นทะเล พบกระจายพันธุ์ตามทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก


กุ้งมังกรเมื่อเทียบกับกุ้งอื่น ๆ จัดเป็นกุ้งที่เติบโตช้ามาก การเจริญเติบโตใช้วิธีการลอกคราบในขณะที่อยู่ในวัยอ่อน จะมีการลอกคราบบ่อยครั้ง คือประมาณสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง กว่าจะโตเต็มที่ต้องใช้เวลาประมาณ 5-7 เดือน การออกไข่แต่ละครั้งจะมีปริมาณไข่ประมาณ 200,000-1,000,000 ฟอง ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะฟักเป็นตัว ในระยะวัยอ่อนจะมีชีวิตแบบแพลงก์ตอนขนาด 1 มิลลิเมตร ล่องลอยอยู่ในกระแสน้ำ จนอายุได้ 8-9 เดือน จึงจะกลายเป็นกุ้งวัยอ่อนขนาด 3-4 เซนติเมตร จะเข้ามาอาศัยหลบภัยในกอสาหร่ายทะเล, หญ้าทะเล หรือแนวปะการังนาน 2 ปี ถึงจะแข็งแรงพอช่วยตัวเองได้ และเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 7-10 ปี


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กุ้งมังกร

ปลาฉลาด

ปลาสลาด หรือ  ปลาฉลาดเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Notopterus notopterus อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างไม่เกินลูกตาเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวมีสีเรียบ ยกเว้นปลาวัยอ่อนจะมีลายบั้งเหมือนปลากราย (Chitala ornata) วัยอ่อน จมูกมีสองคู่ คู่หน้ายื่นออกมาคล้ายหลอดหรือหนวด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-30 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่เล็กที่สุดชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Notopterus

พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ที่ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ไปจนถึงเกาะสุมาตราและชวาหรือบอร์เนียว เป็นปลาที่หาง่าย มักอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมนำเนื้อไปทำทอดมันแทนเนื้อปลากรายซึ่งมีราคาแพงกว่าได้ นอกจากนี้ยังแปรรูปเป็นอาหารอื่น ๆ ได้อีก เช่น ลูกชิ้นสับนก หรือรมควัน เป็นต้น และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยเฉพาะปลาที่กลายสีเป็นสีเผือก

ปลาสลาด ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น "ปลาตอง" หรือ "ปลาตองนา"

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ปลาชะโด

ปลาชะโด (อังกฤษ: Great snakehead, Giant snakehead) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร น้ำหนักถึง 20 กิโลกรัม มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ, ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสีของเปลือกหอยแมลงภู่แทน

โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ปลาชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า "ลูกครอก" หรือ "ชะโดป๊อก" เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า "ชะโดแมลงภู่" ตามสีของลำตัว หากสีดำจะเรียกว่า "ชะโดถ่าน"

นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วที่สุดในวงศ์ปลาช่อน และยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกปลาชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง"

เป็นปลาที่พบได้ทุกภาคของประเทศ และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย, อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย

ปลาชะโดมีการเลี้ยงในกระชังตามแม่น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, สะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์, เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี มักจะบริโภคด้วยการทำเป็นปลาเค็มและตากแห้งมากกว่าปรุงสด เพราะเนื้อแข็งและมีก้างเยอะ

นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลา พบมีขายในตลาดปลาสวยงามบ่อย ๆ และมีราคาถูก 


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

ปลากระสูบ





ปลากระสูบ (อังกฤษ: Hampala barb, Jungle perch) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Hampala (/แฮม-พา-ลา/) ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นในชวา

มีรูปร่างโดยรวม คือ มีส่วนหัวใหญ่ ปากกว้าง มุมปากยาวถึงขอบตา มีหนวดที่มุมปากบนหนึ่งคู่ มีฟันที่ลำคอสามแถว ครีบหลังมีก้านครีบแขนงแปดก้าน เกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ บนลำตัวมีจุดหรือเส้นขีดสีดำเห็นได้ชัดเจน ซึ่งอาจแปรเปลี่ยนไปได้ตามช่วงวัย และแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด ขนาดโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 60-70 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 20-30 เซนติเมตร

พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เป็นปลาที่กินปลาด้วยกันขนาดเล็กเป็นอาหาร นิยมอยู่เป็นฝูง ออกล่าเหยื่อพร้อม ๆ กัน จึงเป็นที่นิยมของนักตกปลา มีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "ปลากระสูบ" หรือ "ปลาสูบ" หรือ "ปลาโสด" ในบางท้องถิ่น
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลากระสูบ                 





เหยื่อปลอมตกปลาช่อน

เหยื่อปลอมตกปลาช่อน ในแต่ละแบบ

เหยื่อปลอมเป็นเหยื่อที่ได้รับความนิยมมากในวงการตกปลาประเทศไทยโดยเฉพาะ การตกปลาช่อน หรือปลาชะโด ซึ่งเป็นที่ได้รับควมนิยมมากๆ และมีคนตกกันทั่วประเทศ ด้วยเหตุผลเพราะปลาช่อนเป็นปลาที่มีอยู่ทุกพื้นที่ของประเทศไทย และที่ทำให้ได้รับความนิยมอีกเหตุผลหนึ่งคือเรื่องของรสชาติ ของปลาช่อนเวลานำไปปรุงอาหารนั้น อร่อย และสามารถนำไปทำอาหารได้หลายแบบหลายเมนู  สิ่งที่สำคัญในการตกปลาช่อนนั้นคือเหยื่อ ซึ่งเหยื่อในการตกปลาช่อนโดยหลักๆแล้วจะแยกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ เหยื่อเป็นกับเหยื่อปลอม ในวันนี้เราจะมาพูดถึงในเรื่องของเหยื่อปลอมเป็นหลักก่อนนะครับ ในการตกปลาช่อนด้วยเหยื่อปลอม ที่ได้รับการยอมรับและได้รับความนิยมมากนั้นได้แก่

เหยื่อปลอมตกปลาช่อน ประเภท

  1. เหยื่อผิวน้ำ
  2. เหยื่อดำตื้นและเหยื่อดำลึก
ประเภท เหยื่อปลอมตกปลาช่อน ชนิดผิวน้ำ นั้นเป็นเหยื่อที่ตอนนี้ ที่ได้รับความนิยมมาก ในประเทศไทยคงจะไม่มีใครไม่รู้จัก นั้นก็คือ เหยื่อกบกระโดด ซึ่งเป็นเหยื่อที่มีความสามารถ เรียกความสนใจให้เจ้าปลาช่อนได้เป็นอย่างดี และตัวเหยื่อนั้นมีรูปสีสันที่สวยงามมีการทำออกมามายมาย โดย เหยื่อปลอมตกปลาช่อนชนิดผิวน้ำ นั้นก็มีแยกออกไปเป็น 2 รูปแบบหลักๆ คือ แบบที่มีแอ๊คชั่นในตัว กับ แบบที่เราต้องสร้างแอ๊คชั่น

เหยื่อผิวน้ำชนิดที่ ต้องสร้างแอคชั่นให้เหยื่อ เช่น เหยื่อหยดน้ำ ซึ่งเวลาเราตีออกไปแล้วจังหวะที่เก็บสายนั้นต้องสร้างแอ๊คชั่นด้วยการ ขยับปลายคันให้เหยื่อนั่นพริ้วไหว เพื่อเรียกความสนใจให้กับปลา ซึ่งเหยื่อชนิดนี้ จะให้ความรู้สึกและความสนุกในการตีแบบเราต้องจินตนาการ ว่าเหยื่อจะไหว้น้ำแบบไหนแล้วเราก็ขยับปลายคันให้ได้ตามที่เราตั้งใจ
เหยื่อผิวน้ำชนิดที่มีแอคชั่นในตัว อย่างเช่น กบกระโดด ต่างๆ ซึ่งมีรุปแบบ รูปทรงต่างๆ กันไปแต่หลักการทำงานของกบชนิด นี้ก็ใช้วีธีและหลักการเที่ยวกันคือ ทำให้เกิดเป็นคลื่นน้ำและเสียงตบเรียกความสนใจให้กับปลาหรือที่เขานิยมพูดกัน ว่า “สับถี่” โดยทั่วไปแล้วเท่าที่ผมรวมข้อมูลตอนนี้แบงแยกออกเป็น 4 แบบ
1. ทรงประยุค
กบกระโดด ทรงประยุค
2. ทรงกลม
กบกระโดด ทรงกลม
3. ทรงแบน
กบกระโดด ทรงแบน (หลังแบน)
4.ทรงเหลี่ยม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กบสามเหลี่ยม


ปลาช่อน

ปลาช่อน

ปลาช่อน (อังกฤษ: Common snakehead, Chevron snakehead, Striped snakehead; ชื่อวิทยาศาสตร์: Channa striata) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร

โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า "ปลาช่อนจำศีล" พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ

ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก เรียกกันว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา โดยลักษณะเฉพาะของปลาช่อนแม่ลา คือ มีครีบหูหรือครีบอกสีชมพู ส่วนหางจะมีลักษณะมนเหมือนใบพัด ลำตัวอ้วน แต่หัวหลิม ไม่เหมือนปลาช่อนทั่วไป โดยเป็นปลาช่อนที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลา อยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย ในเขตจังหวัดสิงห์บุรี เป็นแหล่งน้ำที่น้ำนิ่ง มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ใต้ท้องน้ำปกคลุมไปด้วยพืชน้ำและวัชพืช ทำให้น้ำเย็น ดินก้นลำน้ำยังเป็นโคลนตมที่มีอินทรียวัตถุ แร่ธาตุที่ไหลมารวมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาช่อนแม่ลาถึงมีรสชาติดีกว่าปลาช่อนที่อื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีการสร้างเขื่อนและประตูเปิด-ปิดน้ำ ทำให้แม่น้ำลาตื้นเขิน ปลาช่อนแม่ลาที่เคยขึ้นชื่อใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อเป็นการอนุรักษ์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลาช่อน



ปลาทอง

ปลาทอง หรือ ปลาเงินปลาทอง (อังกฤษ: goldfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Carassius auratus) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น เดิมใช้บริโภค ต่อมาถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามในปัจจุบัน
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ประวัติความเป็นมาและลักษณะ

เชื่อว่าปลาทองเป็นปลาสวยงามชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยง จากหลักฐานที่ปรากฏไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อที่ประเทศจีน ถือเป็นประเทศแรกที่เลี้ยงปลาทอง  โดยปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมในภาษาญี่ปุ่นเรียก "ฟุนะ" (鮒; フナ) และชาวญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามและหลากหลายมาจนปัจจุบัน เมืองแรก คือ ซะไก ในจังหวัดโอซะกะ ในราวปี ค.ศ. 1502-1503 แต่กลายมาเป็นที่นิยมเมื่อเวลาต่อมาอีกราว 100 ปี ถึงขนาดมีร้านขายปลาทองเปิดกันเป็นจำนวนมาก

ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน

ปลาทองมีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว หรือหลายสีในตัวเดียว ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำ มีอายุขัย 20-30 ปี ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในทวีปยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17[4] และถูกนำไปเผยแพร่ในทวีปอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 สำหรับในประเทศไทย เชื่อว่าปลาทองเข้าในสมัยอยุธยาตอนกลางเพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนักราว ๆ ค.ศ. 1370-1489[2]

ปัจจุบันประเทศจีน, ฮ่องกง, สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด[2] สำหรับในประเทศไทย การเลี้ยงปลาทองในฐานะปลาสวยงามในยุคปัจจุบัน เริ่มขึ้นหลังปี ค.ศ. 1960 ซึ่งความนิยมจะเริ่มขึ้นจากพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อนจะขยายไปตามจังหวัดต่าง ๆ จนปัจจุบันมีฟาร์มปลาทองมากมาย มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งเกรดสูงที่มีราคาแพง และเกรดธรรมดาทั่วไป

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

อาหารไทย

อาหารไทยกลายเป็นอาหารที่นิยมทั่วโลกเนื่องจากรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเกิดจากการผสมผสานอย่างกลมกล่อมของรสหวาน รสเปรี้ยว และรสเค็ม นอกจากนั้นยังมีรสเผ็ดร้อนของพริกที่เพิ่มรสชาติอาหารไทยให้เป็นที่นิยมของชนทุกชั้น ทั้งคนไทยและผู้บริโภคชาวต่างชาติทั่วโลก
 อาหารไทยได้รวบรวมสุดยอดศิลปะการปรุงอาหารของชาวเอเชียตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นการปรุงอาหารแบบซีฉวนของจีน, การปรุงอาหารเขตเมืองร้อนของชาวมาเลย์, การปรุงอาหารด้วยกะทิอันมีต้นกำเนิดจากอินเดียตอนใต้ และ การใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหารของชาวอาราเบีย ศิลปะการปรุงอาหารไทยที่มีต้นกำเนิดจากการผสมผสานของศิลปะการปรุงอาหารที่หลากหลายเหล่านี้ได้รับการประยุกต์โดยใช้ สมุนไพรพื้นเมืองที่สมบูรณ์ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ผักชี, พริก, พริกไทย, เครื่องเทศอื่นๆ ผลที่ได้คือรูปลักษณ์อาหารที่ชวนให้น่า้รับประทาน ขณะที่ใช้เนื้อสัตว์ปรุงอาหารในปริมาณจำกัด และเน้นคุณค่าของสมุนไพรและผักสดต่างๆ ทำให้อาหารไทยอร่อยทั้งรสชาติ, สารอาหารครบถ้วนและดีต่อสุขภาพของผู้บริโภ
                            
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาหารไทย        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาหารไทย

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ผจญภัยไปกับสัตว์โลกใต้น้ำ



ผจญภัยไปกับสัตว์โลกใต้น้ำ ดำดิ่งสู่มหาสมุทรเขตร้อนอันกว้างใหญ่ไพศาลซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของปลาโมลาโมลา หรือที่รู้จักกันอย่างดีในชื่อ "ปลาพระอาทิตย์" ปลาผู้ซึ่งมีหน้าตาแปลกประหลาดกว่าปลาชนิดอื่น รูปร่างของมันเป็นทรงกลม ประกอบกับหัวที่มีขนาดใหญ่ จนทำให้ดูเหมือนว่ามีเพียงหัวอย่างเดียว และได้รับการขนานนามว่าเป็นปลาที่มีน้ำหนักกระดูกมากที่สุดในโลกอีกทั้งยังมีพฤติกรรมที่ต่างไปจากปลาชนิดอื่นคือ การชอบขึ้นมาอาบแดดบนผิวน้ำ และที่พิเศษกว่านั้น คือ โทมัส เบเรนด์ หนึ่งในนักสำรวจโลกใต้ทะเลที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของโลก ได้ชวนช่างภาพมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไปร่วมสำรวจวิถีชีวิตและเก็บภาพปลาโมลาโมลา
ผจญภัยไปกับสัตว์โลกใต้น้ำ ทุกวันศุกร์ ที่ NOW26